วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

การอ่าน Spec ของหูฟัง Earphone แบบเบสิ๊คเบสิค


        การอ่านสเปคหูฟังและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับน้องๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นจะว่าไปก็อาจจะทั้งยากและง่าย เพราะมีค่าต่างๆ ยุบยับให้งงงวยกัน

คราวนี้ขอเขียนอธิบายการอ่าน Spec ของหูฟังแบบเริ่มต้น เพื่อที่จะได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาแล้วกันนะครับ :)
Driver (Type)
ชนิดของลำโพง หรือ ไดรเวอร์ ในหูฟังขนาดเล็กจะมีอยู่ 2 แบบ
  1. Dynamic Driver ไดรเวอร์แบบนี้มีการใช้มายาวนานตั้งปี 1980 เรื่อยมา มีขนาดใหญ่ ให้เสียงเบสที่มีพลัง แต่ไดรเวอร์ส่วนใหญ่ทำเสียงแหลมได้ไม่ดีเท่าระบบ Balanced Armature
  2. Balanced Armature (BA) จริงๆ ไดรเวอร์นี้ใช้งานมายาวนานกว่าระบบ Dynamic โดยยุคแรกๆ จะใช้กับเครื่องช่วยฟัง ที่คนไม่นิยมใช้ไดรเวอร์ระบบนี้ในช่วงแรกๆ เพราะไม่สามารถสร้างเสียงเบสที่ดีได้ ข้อดีคือมีขนาดเล็ก ให้เสียงแหลมที่ใส รายละเอียดสูง ข้อเสียคือกำลังเสียงเบสน้อย
Frequency Response
ค่านี้บอกถึง ช่วงความถี่ของหูฟัง หลักๆ ให้ดูที่ค่าความพี่ต่ำสุด เพราะค่าความถี่สูง หูฟังส่วนใหญ่ทำได้ดีเลิศอยู่แล้ว จะติดตรงที่ความถี่ต่ำซึ่งหลายๆ ทำต่ำมากๆ ให้คนได้ยินไม่ได้
  • ช่วง 20 Hz +/- เป็นช่วงที่หูฟังส่วนใหญ่ทำได้
  • ช่วง 1-19 Hz จะเป็นช่วงที่หูฟังบางตัว​ (มีคุณภาพ) ทำได้
Sensitivity
ภาษาไทยๆ ก็คือค่าความไวของไดรเวอร์ คือถ้าให้พลังเสียง (หรือพลังไฟฟ้า) เท่ากัน หูฟังที่มีค่าที่มากกว่าก็จะไวกว่า ให้พลังเสียงที่มากมาย ฟังเสียงง่ายกว่า
เอาเข้าจริงๆ หูฟังที่มีค่านี้ต่ำๆ ใช้ยากๆ ต้องใช้แอมพ์แรงๆ ขับ เวลาใช้จริงอาจจะดีกว่าหูฟังที่ไวมากๆ ก็ได้
โดยรวมต้องดูว่าจะใช้กับเครื่องเล่นอะไร

Impedance
เป็นค่าความต้านทานรวมของหูฟัง ความหมายก็ตรงตัว ค่ายิ่งมาก ความต้านทานก็ยิ่งมาก ในการนำไปใช้งานจะสามารถจำไปใช้ง่ายๆ ดังนี้
  • Impedance : 5 - 40 Ω จะเป็นหูฟังเหมาะสำหรับใช้กับเครื่องเล่นพกพา เช่น iPod, iPhone, iPad, มือถือ หรือ เครื่องเล่นเพลงพกพาทั่วไป
  • Impedance : 30 - 80 Ω เป็นหูฟังที่สามารถใช้กับ Laptop หรือ มือถือได้ แต่ต้องเปิด volume มากหน่อย ถ้าใช้แอมพ์พกพาจะขับออกได้ง่าย มีรายละเอียดที่เต็มที่
  • Impedance : 50 - 300 Ω หูฟังพวกนี้จะเริ่มเป็นแบบครอบหัวละ เป็นหูฟังที่ถูกออกแบบให้ใช้กับเครื่องเล่น หรือ แอมพ์ที่มีกำลังพลังสูงๆ ไม่งั้นเปิดมาเสียงจะแปลกๆ ใสแสบหู
  • Impedance : 150 - 600 Ω หูฟังในกลุ่มนี้ต้องใช้แอมพ์ขับอย่างเดียว ข้อดีคือถ้าใช้กับอุปกรณ์ที่เข้ากันเสียงจะดีมาก ข้อเสียคือขับยากหรือต้องใช้อุปกรณ์มากและส่วนใหญ่จะแพง
หลักๆ ก็จะมีเท่านี้ แต่จะดูที่ค่าใดค่าหนึ่งคงไม่ได้ เพราะค่าต่างๆ มีการแปรผันต่อกัน ถ้าจะดูต้องสังเกตุค่าทั้ง 4 รวมกัน
ยังมีข้อมูลอีกอย่างที่คนชอบนำมาดู คือ กราฟความถี่เสียงของหูฟัง กราฟนี้สามารถบอกถึงลักษณะเสียงของหูฟังได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าหูฟังเสียงดีหรือเปล่า

สรุป

ค่าพวกนี้สามารถบอกเราได้คร่าวๆ ว่าหูฟังที่เรากำลังสนใจเป็นยังไง พอเดาๆ ได้ว่าเสียงจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าจะให้แน่ เข้ามาลองตัวเป็นๆ จะดีกว่าเนอะ ^__^